หน้าหลัก มูลค่า ปฏิทิน ฟอรั่ม
flag

FX.co ★ เงินปอนด์อาจเป็นม้ามืดในกลุ่มประเทศจี10

parent
การวิเคราะห์ฟอเร็กซ์:::2018-04-03T01:29:14

เงินปอนด์อาจเป็นม้ามืดในกลุ่มประเทศจี10

ในไตรมาสแรกนั้น เงินปอนด์ได้มีการปรับตัวขึ้นไป 4% เมื่อเทียบกับเงินดอลลาร์สหรัฐ เนื่องจากการลดลงของความเสี่ยงทางการเมือง และการเพิ่มขึ้นของแนวโน้มความต่อเนื่องของวัฏจักรการดำเนินการตามนโยบายเพื่อกลับคืนสู่สภาวะเดิม ของธนาคารแห่งประเทศอังกฤษในเดือนพฤษภาคม ที่เหนือกว่า 80เปอร์เซ็นต์ สำหรับเงินเฟ้อจากระดับ 3 เปอร์เซ็นต์ จนถึง 2.7เปอร์เซ็นต์ และค่าจ้างที่เพิ่มขึ้นมาเป็น 2.8เปอร์เซ็นต์ ก็คาดว่าอาจจะช่วยเพิ่มอำนาจในการซื้อของประชากรได้ และเร่งอัตรา GDP ขึ้นมา ดังนั้นแล้วปัจจัยของการประเมินที่ผิดพลาดก็อาจจะช่วยส่งเสริมเงินปอนด์ได้ในท้ายที่สุด

เมื่อทางสถาบัน OECD ได้ออกมากล่าวว่า เศรษฐกิจของสหราชอาณาจักรอังกฤษจะแสดงอัตราการเติบโตที่น้อยที่สุดออกมาในกลุ่มประเทศที่เจริญ จากความประหลาดใจในส่วนนี้ก็ได้ช่วยให้เกิด "แนวโน้มขาขึ้น" ในคู่สกุลเงินปอนด์และดอลลาร์สหรัฐ (GBP/USD) เพื่อกลับคืนสู่แนวโน้มขาขึ้น ตัวอย่างเช่น คุณไม่จำเป็นต้องคาดการณ์ไปไกล เพราะจากช่วงท้ายปี 2016 ทางด้านผู้เชี่ยวชาญของ Bloomberg ได้คาดว่ายอด GDP ในยูโรโซนในปี 2017 จะอยู่ที่ + 1.7% โดยตามความจริงแล้วตัวบ่งชี้ได้แสดงค่าออกมาถึง 2.5% ซึ่งได้กลายมาเป็นหนึ่งในตัวกระตุ้นหลักของการเสริมสร้างกำลังในเงินยูโรถึง 14% จากข้อมูลทางด้านแนวโน้มในอนาคตของเศรษฐกิจใน สหราชอาณาจักรอังกฤษ ก็อาจจะเป็นหลักฐานจากกิจกรรมของภาคธุรกิจได้ สำหรับข้อมูลทางสถิติในดัชนีผู้จัดการฝ่ายซื้อก็แสดงความเข้มข้นของ ปฏิทินเศรษฐกิจ และทำให้เงินปอนด์ได้กลายมาเป็น สกุลเงินที่น่าสนใจอันดับต้นๆในรอบสัปดาห์แรกของเดือนเมษายน

การเคลื่อนไหวของดัชนี PMI ในการบริการและยอด GDP ในประเทศอังกฤษ

 เงินปอนด์อาจเป็นม้ามืดในกลุ่มประเทศจี10

แหล่งที่มา: Trading Economics.

การคาดการณ์ดัชนี PMI ที่อยู่ในแดนลบ ในด้านการผลิต (54.7 ต่อ 55.2 ในเดือนกุมภาพันธ์) และภาคการก่อสร้าง (50.8 ต่อ51.8) และภาคการบริการ (54 ต่อ54.5) อาจกลายมาเป็นการเริ่มต้นที่จะเป็นส่วนส่งผลต่อเงินปอนด์ในปีนี้ สำหรับข้อมูลที่แสดงผลที่ดีนั้นได้กระตุ้น "แนวโน้มขาขึ้น" สำหรับ คู่สกุลเงินปอนด์และดอลลาร์สหรัฐ (GBP/USD) ให้มีกำลังเพิ่มขึ้นมา


ข้อมูลเชิงบวกจากเศรษฐกิจมหภาค เองก็มาพร้อมกันการตัดสินใจในช่วงเปลี่ยนผ่านของ ประเทศอังกฤษจนถึงปี 2019 ซึ่งอาจจะมองว่าเป็นการลดความเสี่ยงทางการเมืองก็เป็นได้ ในการปลดล็อคธนาคารแห่งประเทศอังกฤษไป ทางด้านคณะกรรมการนโยบายการเงินเองก็มีแนวโน้มแบบ "เหยี่ยว" มากขึ้นและกำลังรอคอยการรายงานข้อมูลจากกรุงบรัสเซลส์อีกด้วย ตลาดฟิวเจอร์สก็คาดว่าจะมีการปรับตัวขึ้นมาในอัตราดอกเบี้ยตามนโยบายในเดือนพฤษภาคม และเดือนพฤศจิกายน สำหรับวัฏจักรการดำเนินนโยบายการเงินกลับสู่สภาวะเดิมอาจจะเกิดขึ้นไปจนถึงเดือนกุมภาพันธ์ปี 2019 โดยการปรับแนวโน้มนี้จะเกิดขึ้นจากทั้งทางการเมือง และเศรษฐกิจ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง "แนวโน้มขาลง" ในเงินปอนด์เองก็มองว่า อาจจะเร็วไปที่จะมาคาดการณ์ต่อความแน่นอนที่เกี่ยวข้องกับการดำเนินการ Brexit และอ้างอิงจนถึงการเติบโตของความผันผวนจาก 7.8% ในช่วงเดือนตุลาคม-เดือนธันวาคม ใน 8.3% ของรอบเดือนมกราคมจนถึงเดือนมีนาคม ทางด้าน ING เองก็มองว่า การตอบโต้กลับของเงินปอนด์ในช่วงการเปลี่ยนผ่านแสดงให้เห็นถึง การประเมินการณ์ที่ผิดพลาด

เมื่อคาดการณ์ถึง การเคลื่อนไหวในอนาคตของ คู่สกุลเงินปอนด์และดอลลาร์สหรัฐ (GBP/USD) อย่างแรกที่ไม่ควรลืมก็คือปัจจัยต่อสงครามการค้า โดยที่การแลกเปลี่ยนในภาษีการนำเข้า ระหว่างสหรัฐอเมริกาและประเทศจีน ได้ส่งผลต่อความเสี่ยงในระดับโลก ซึ่งยังกระทบต่อความต้องการต่อนักลงทุนในการลงทุนที่ตลาดการเงินในประเทศอังกฤษ และยังเป็นอุปสรรคต่อเงินปอนด์อีกด้วย


ตามเทคนิคแล้ว สภาวะที่สำคัญสำหรับการฟื้นตัวของ"แนวโน้มขาขึ้น" สำหรับ คู่สกุลเงินปอนด์และดอลลาร์สหรัฐ (GBP/USD) นั้นต้องมีการเคลื่อนตัวทะลุแนวต้านที่ 1.425 ออกไป ก็อาจจะกระตุ้นให้มีการเกิดกราฟรูปแบบ AB=CD ที่มีเป้าหมายที่ 200 เมื่อมูลค่าของคู่สกุลเงินนี้อยู่สูงกว่า 1.3705 ก็จะแสดงว่าผู้ซื้อเข้าควบคุมตลาด

ชาร์ตรายวันของคู่สกุลเงิน GBP/USD

 เงินปอนด์อาจเป็นม้ามืดในกลุ่มประเทศจี10

แชร์บทความนี้:
parent
loader...
all-was_read__icon
คุณได้ดูสิ่งพิมพ์ที่ดีที่สุดทั้งหมดในปัจจุบัน
เรากำลังมองหาสิ่งที่น่าสนใจสำหรับคุณ
all-was_read__star
เผยแพร่เมื่อเร็ว ๆ นี้:
loader...
สิ่งพิมพ์ล่าสุดเพิ่มเติม