หลังจากที่พยายามเคลื่อนตัวทะลุผ่านแนวเส้นด้านบนไม่สำเร็จในการซื้อขายระยะกลางที่ $ 1300-1360ต่อออนซ์ โดยทองคำก็ได้ปรับตัวลงไปจากแนวโน้มภายนอกที่ไม่ค่อยดีนัก ประเด็นของสงครามการค้าในรูปแบบการเจรจาระหว่างสหรัฐอเมริกา และประเทศจีนนั้นยังไม่ได้ออกมาส่งเสริมการปรับตัวของสินทรัพย์ปลอดภัย ระหว่างที่ มีการเปลี่ยนแนวโน้มความสนใจของนักลงทุนไปยังการรัดกุม นโยบายทางการเงินของทางธนาคารกลาง ที่อาจจะช่วยส่งเสริมอัตราในตลาดตราสารหนี้ และเงินดอลลาร์สหรัฐได้บ้าง สำหรับโลหะมีค่าเองก็มีการปรับตัวอย่างรวดเร็วต่อพฤติกรรมของสินทรัพย์ประเภทอื่นๆ ในส่วนของการแข็งค่าของเงินดอลลาร์สหรัฐเอง ก็ทำให้การนำเข้าจากประเทศผู้บริโภคขนาดใหญ่ของสินทรัพย์นั้นมีราคาแพงขึ้น ในเวลาเดียวกันนั้น ทองคำที่ไม่ได้สร้างผลตอบแทนเองก็ไม่มีกำลังพอที่จะไปบรรลุกับ พันธบัตรได้จากการปรับตัวขึ้นมาของอัตราผลตอบแทนนั้นเอง
การเคลื่อนไหวของอัตราผลตอบแทนพันธบัตรสหรัฐอเมริกา และตราสารทองคำ
การเติบโตขึ้นมาของอัตราผลตอบแทนของพันธบัตรอเมริกาอายุ 10 ปี ที่มากกว่าระดับที่สำคัญทางจิตวิทยาใน 3% ของระดับที่สูงสุดตั้งแต่ช่วงเริ่มต้นของปี 2014 ก็ได้กลายมาเป็นเหตุการณ์ที่ไม่เหมาะอย่างยิ่งกับ "แนวโน้มขาขึ้น" ของคู่ออนซ์และดอลลาร์สหรัฐ (XAU/USD) นอกจากนั้นแล้ว การที่ความสนใจต่อตราสารได้เพิ่มขึ้นมานั้นก็ทำให้เกิด การเปลี่ยนแปลงในพอร์ตการลงทุนตามความต้องการใหม่ๆ ดังนั้นแล้ว ค่าใช้จ่ายของการบริการใช้งานผลิตภัณฑ์ใน ETF นั้นเลยมีมูลค่าสูงขึ้นมา แต่ในเดือนเมษายน อ้างอิงจากการรายงานของ Commerzbank ได้ระบุออกมาว่า กองทุนสำรองของกองทุนสำรองเลี้ยงชีพได้เพิ่มขึ้นมา 53ตัน ซึ่งเท่ากับการไหลเวียนเข้ามาของทุนในไตรมาสแรก สำหรับความไม่แน่นอนจากสหรัฐอเมริกา และประเทศจีนต่อ ความขัดแย้งทางการค้า, ปัญหาการเมืองในภูมิภาคตะวันออกกลาง และการแข็งค่าของเงินดอลลาร์สหรัฐที่เป็นการตอบโต้ต่อแนวโน้ม "การควบคุมเงินเฟ้อ" ของทางด้านเฟด ก็ได้กระตุ้นอุปสงค์ต่อสินทรัพย์เหล่านี้เพิ่มขึ้นมา แต่ในช่วงตอนท้ายของเดือนเมษายนก็จะพบได้ว่า แนวโน้มภายนอกได้มีการเปลี่ยนแปลงไปอย่างมาก มันจึงอาจจะก่อให้เกิดการขาดทุนใน ETF ได้
โดยทั่วไปแล้ว ดูเหมือนว่าเหตุการณ์แบบช่วงปี 2015-2016 อาจจะย้อนกลับมาอีกครั้ง เมื่อมีข่าวออกมาเกี่ยวกับการปรับนโยบายทางการเงินสู่สภาวะปกติ ของทางเฟดที่อาจจะทำให้ดัชนีเงินเดอลลาร์สหรัฐ ปรับตัวขึ้นมา ในเดือนเมษายนพบว่า โอกาสของการเพิ่มอัตราดอกเบี้ยส่วนกลางในปี 2018 ได้เพิ่มขึ้นมาจากที่น้อยกว่า 30% ไปจนถึง 50% ที่อาจจะเป็นหนึ่งในตัวกระตุ้นหลักต่อการเติบโตในอัตราผลตอบแทนของพันธบัตร ในส่วนที่สองก็คือ การเพิ่มขึ้นของการคาดการณ์ในระดับเงินเฟ้อ ที่อยู่ภายใต้การปรับตัวของทางเบรนท์ไปที่ 75เหรียญต่อบาร์เรล
ไม่เพียงแต่ในส่วนของการปรับฐานในดัชนีเงินดอลลาร์สหรัฐ นั้นค่อนข้างอ่อนตัวลงมาจากเงินยูโร จากช่วงเริ่มต้นการประชุมของสภาปกครอง ทางด้านธนาคารกลางแห่งยุโรปก็เป็นกังวลเกี่ยวกับ ผลกระทบของการประเมินค่าใหม่ของสกุลเงินยูโร และความขัดแย้งทางการค้าในเศรษฐกิจของยูโรโซน ซึ่งต่อมาก็ได้ปรับตัวออกจาช่องทางไปในช่วงไตรมาสแรก แต่ถึงอย่างไรก็ตาม การฟื้นตัวขึ้นตามลำดับในช่วงที่เหลือของปีนี้ ก็อาจจะทำให้ข่าวรือในตลาดเป็นจริงเกี่ยวกับ การปรับนโยบายทางการเงินสู่สภาวะปกติจาก ผู้กำหนดนโยบายของธนาคารกลางแห่งยุโรป และอาจจะช่วยฟื้นสถานะของคู่สกุลเงินยุโรปและดอลลาร์สหรัฐ (EUR/USD) ไปได้ ในส่วนของทองคำก็อาจจะได้รับผลประโยชน์จากการปรับฐานของเงินดอลลาร์สหรัฐที่เกิดขึ้นมา
ทางเทคนิคแล้วจะพบว่า มีการปรับตัวไปทดสอบอีกครั้งในขอบเส้นด้านล่าง ภายในช่องทางการซื้อขายด้านบน หาก "แนวโน้มขาขึ้น" สามารถย้อนกลับไปในมูลค่าของทองคำไปได้ และพักระยะอยู่เหนือกว่าแนวต้านที่ 1336เหรียญต่อออนซ์ โอกาสต่อการฟื้นตัวไปในแนวโน้มขาขึ้นก็ขะเพิ่มขึ้นมา ในทางกลับกัน ถ้าผู้ซื้อไม่สามารถดำเนินการสำเร็จได้ ระดับสูงสุดของโลหะมีค่าในทิศทางไปหาเป้าหมายที่ 88.6% ในกราฟรูปแบบ "ฉลาม" ก็อาจจะยังเกิดขึ้นอยู่ตามเดิม
ชาร์ตรายวันของทองคำ