ค่าเงินดอลลาร์สหรัฐอ่อนค่าลงหลังจากกระทรวงแรงงานที่นำเสนอข้อมูลภาวะเงินเฟ้อของผู้บริโภคในเช้าวันพุธ แต่ปรับตัวสูงขึ้นอย่างช้าๆภายหลังขณะที่มีการคาดการณ์ว่าธนาคารกลางแห่งสหรัฐจะขึ้นอัตราดอกเบี้ยอย่างจริงจังเพื่อลดอัตราเงินเฟ้อให้เร็วขึ้นกว่าเดิม ข้อมูลที่ออกโดยกระทรวงแรงงานแสดงให้เห็นว่าอัตราการเติบโตของราคาผู้บริโภคในรอบปีชะลอตัวลงน้อยกว่าที่คาดการณ์ไว้ในเดือนเมษายน ซึ่งอยู่ที่ 8.3% โดนลดลงจากระดับสูงสุดในรอบ 40 ปีที่ 8.5% ในเดือนมีนาคม นักเศรษฐศาสตร์คาดการณ์ว่าอัตราการเติบโตจะชะลอตัวลงเหลือ 8.1% อัตราการเติบโตประจำปีของราคาผู้บริโภคหลักก็ชะลอตัวลงไปเป็น 6.2% ในเดือนเมษายนจากเดิม 6.5% ในเดือนมีนาคม แม้ว่าอัตราดังกล่าวคาดว่าจะชะลอตัวลงเหลือ 6% กระทรวงแรงงานชี้ว่าดัชนีราคาผู้บริโภคเพิ่มขึ้น 0.3% ในเดือนเมษายนหลังจากที่เพิ่มขึ้น 1.2% ในเดือนมีนาคมเมื่อเทียบเป็นรายเดือน นักเศรษฐศาสตร์คาดการณ์ว่าราคาจะขยับตัวขึ้นไปถึง 0.2% ราคาผู้บริโภคหลักซึ่งไม่รวมกับราคาอาหารและพลังงานได้เพิ่มขึ้นถึง 0.6% ในเดือนเมษายนหลังจากเพิ่มขึ้น 0.3% ในเดือนมีนาคม ราคาหลักคาดว่าจะเพิ่มขึ้นถึง 0.4% ดัชนีค่าเงินดอลลาร์ซึ่งลดลงสู่ 103.37 จากระดับสูงสุดใน 104.11 โดยอยู่ใน 104.05 ที่เพิ่มขึ้น 0.12% เงินดอลลาร์แข็งค่าขึ้นที่ 1.0513 ดอลลาร์เมื่อเทียบกับยูโรจาก 1.0532 ดอลลาร์ เงินดอลลาร์ซื้อขายที่ 1.2244 ดอลลาร์เมื่อเทียบกับเงินปอนด์สเตอร์ลิง โดยแข็งค่าขึ้นจาก 1.2316 ดอลลาร์ เงินดอลลาร์อ่อนค่มาอยู่ที่ 130.02 เยนต่อดอลลาร์เมื่อเทียบกับสกุลเงินญี่ปุ่น พอเทียบกับ 130.45 เยนต่อดอลลาร์ในเย็นวันอังคาร เงินดอลลาร์ทรงตัวที่ 0.6939 เมื่อเทียบกับเงินดอลลาร์ออสเตรเลีย หลังจากอ่อนค่าลงที่ 0.7054 ตามการเปิดเผยข้อมูลเงินเฟ้อ เงินฟรังก์สวิสแข็งค่าขึ้นมากกว่าเดิมที่ 0.09938 ต่อดอลลาร์ โดยเพิ่มขึ้นจาก 0.9956 เงินดอลลาร์แคนาดาแข็งค่าขึ้นเป็น 1.2992 ดอลลาร์ออสเตรเลียจาก 1.3028 ดอลลาร์แคนาดา เนื่องจากราคาน้ำมันดิบที่สูงขึ้น